บทที่ 1 คำนมัสการคุณานุคุณ
ประวัติผู้แต่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย งานนิพนธ์ ที่สำคัญ ของท่าน เช่น ฉันทวิภาค ซึ่งเป็นตำราเรียนยุคแรกของสยาม
ประวัติ
พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 ตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรม ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2434 สิริอายุได้ 69 ปี ได้รับพระราชทานโกศโถเป็นเกียรติยศ
ลักษณะคำประพันธ์
คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์รประเภทต่างๆ ดังนี้
อินทรวิเชียรฉันท์๑๑
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
คำประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์นี้ นับว่าง่ายกว่าฉันท์อื่น ๆ ด้วยเหมือนกับว่า นำเอากาพย์ยานี ๑๑ มาเพิ่ม ครุ ลหุ เท่านั้น
บาทที่ ๑ ครุ ครุ ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ครุ
บาทที่ ๒ เหมือนกัน กับบาทที่ ๑
ส่ง-รับสัมผัสเช่นเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ ทุกประการ
กาพย์ฉบัง ๑๖
กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
สังเกต
กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
เนื้อเรื่อง
คำนมัสการพระพุทธคุณ
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธะสันดาน
ตัดมูลกิเลสมาร บ่มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบ่พันพัว สุวคนธะกำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ลูกขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ยภาพนั้นนิรันดร ฯ
ความเป็นมา
แต่งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีที่มามาจาก บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาบาลี
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ถอดความคำประพันธ์
นมัสการพระพุทธคุณ กล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบหลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติและในการดําเนินชีวิตเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ละเว้นความชั่ว ปราศจากกิเลศทั้งปวง และชี้ทางแห่งความสุข คือ นิพพาน ที่จะทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การกราบไหว้บูชาพระพุทธ เป็นสิ่งอันสมควรอย่างยิ่ง
ความเป็นมา
แต่งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีที่มามาจาก บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาบาลี
ลักษณะคำประพันธ์
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ถอดความคำประพันธ์
นมัสการพระพุทธคุณ กล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบหลักธรรมในการประพฤติปฏิบัติและในการดําเนินชีวิตเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ละเว้นความชั่ว ปราศจากกิเลศทั้งปวง และชี้ทางแห่งความสุข คือ นิพพาน ที่จะทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การกราบไหว้บูชาพระพุทธ เป็นสิ่งอันสมควรอย่างยิ่ง
พิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง
การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรมเช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล
ตัวอย่างคำนมัสการพระพุทธคุณ